สหกรณ์การเกษตรพร้าวเปิดงานวันเกี่ยวข้าวหอมมะลิของดีอำเภอพร้าวราคาตันล่ะ 11,200 บาท
|ที่ลานเอนกประสงค์สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ นายทรงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว พร้อมด้วยนางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และนายนิกร ทะกลกิจ ประธานกรรมการ สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานวันเกี่ยวข้าวหอมมะลิของดีอำเภอพร้าว โดยมีสมาชิกสหกรณ์การเกษตรอำเภอพร้าว และหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกรร่วมงานจำนวนมาก
นายทรงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว กล่าวว่า วันเกี่ยวข้าวหอมมะลิของดีอำเภอพร้าว เป็นโครงการตามมาตรการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ด้วยระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของจังหวัดเชียงใหม่ และเปิดธนาคารข้าวสถาบันเกษตรกรในวันนี้ ซึ่งจังหวัดได้เลือกเอาพื้นที่อำเภอพร้าวเป็นแปลงต้นแบบผลิตข้าวหอมมะลิ โดยมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ สังกัด สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด เข้าโครงการปรับโคลงสร้างการผลิตข้าวจำนวนมาก ซึ่งการรวมแปลงเป็นใหญ่ก่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิตตามที่กำหนด และสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตร ทั้งนี้จะต้องทำการผลิตในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศเขตพื้นที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสินค้า 20 ชนิดไว้แล้ว โดมีหลักการคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเช่น ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งผลผลิตต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด มีการผลิตรวมกันเป็นกลุ่มและมีการเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อจะได้บริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้า สามารถแก้ปัญหาเรื่องสินค้าล้นตลาดและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอีกทางหนึ่ง
นายนิกร ทะกลกิจ ประธานกรรมการ สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์การเกษตรพร้าวได้รับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาเกวียนล่ะ 11,200 บาท ซึ่งในราคานี้มีค่าขนส่งและค่ามาตรฐานการผลิตให้กับสมาชิก 1,300 พันบาท/ตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวหอมมะลิของสมาชิกสหกรณ์พร้าวที่เข้าร่วมโครงการปลูกแบบข้าวอินทรีย์ลดใช้สารเคมี และได้รับมาตรฐาน GAP จากกรมการข้าว นอกจากนี้ทางสหกรณ์การเกษตรพร้าว ยังได้พัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันผลิตที่เข้มแข็ง โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน สำหรับอำเภอพร้าว แหล่งกำเนิดต้นน้ำของลำน้ำเขื่อนแม่งัด เหมาะสมที่จะผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ มีสมาชิกร่วมโครงการ 435 ราย พื้นที่การผลิต 6,760 ไร่ กำหนดการดำเนินงาน 3 มาตรการ คือ 1.เพิ่มขีดความสามารถธนาคารสินค้าเกษตร 2.ขยายผลการจัดตั้งธนาคารสินค้าเกษตรเพื่อชุมชนตามความพร้อม และ 3.จัดตั้งธนาคารสินค้าเกษตรในสถาบันเกษตร โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เลือกสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด ที่เป็นหนึ่งจำนวน 10 แห่ง จึงเปิดจุดรับซื้อข้าวเปือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 ขึ้นผู้ใดสนใจสามารถเข้าโครงการได้ ติดต่อที่สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัดได้